รู้ทันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

รู้ทันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

masthed image
masthed image
masthed image

การรู้เท่าทันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงวัยนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะลดลง รวมทั้งมวลกล้ามเนื้อสลายลงตามวัย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงวัยได้

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยคืออะไร รู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะเสี่ยง

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) เป็นการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะส่งผลต่อสมรรถนะของร่างกาย เมื่ออายุก้าวผ่าน 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะเริ่มมีการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไปถึง 8% ในทุก ๆ 10 ปี เนื่องจากการทำงานของฮอร์โมนที่ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีเท่าเดิม ทำให้กล้ามเนื้อได้รับโปรตีนหรือสารอาหารที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อลดลง และเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป การสลายของมวลกล้ามเนื้อจะมากถึง 15% ซึ่งหมายความว่าในช่วงอายุ 40-80 ปี มวลกล้ามเนื้อจะหายไปถึง 1 ใน 3

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อลดลงเร็วขึ้น เช่น ขาดการออกกำลังกาย ภาวะติดเตียง หรือมีอาการแทรกซ้อนจากโรค เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็งระยะแพร่กระจาย เป็นต้น หากภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จะถือเป็นภาวะเสี่ยงสำหรับผู้สูงวัยอย่างมากเลยทีเดียว 

สัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะเสี่ยงของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย เช่น กำลังน้อยลง ไม่ค่อยแข็งแรง หกล้มง่าย ทรงตัวได้ไม่ดี ลุกนั่งลำบาก หรือแขนขาลีบลง ผู้ที่ต้องการทราบถึงความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย สามารถทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น หรือ pre-screening tool ได้ที่นี่

 

อันตรายจากภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

ผู้สูงวัยที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยจะได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน การทรงตัวจะทำได้ไม่ดี มีโอกาสหกล้มง่าย จึงเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกายและกระดูก ซึ่งมีโอกาสหักและเปราะบางจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิม ดังนั้นการเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อในผู้สูงวัยจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง 

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ ในร่างกายอีกด้วย เช่น การสร้างโปรตีน การทำงานของระบบประสาท ระดับฮอร์โมน ความสามารถเปลี่ยนโปรตีนเป็นพลังงาน รวมถึงการเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นต้น


การป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

การป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเสื่อมสลายไปโดยเร็ว สามารถทำได้โดยการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเพิ่มเติม การดูแลและป้องกันแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ในช่วงหนุ่มสาวจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 

การรับประทานโปรตีนคุณภาพดีในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย ควบคู่กับการทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งจำเป็นเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งหากเข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้ว อาจปรึกษาแพทย์หรือผู้ฝึกสอนส่วนตัวก่อนจะออกกำลังกายที่ใช้แรงมาก ๆ เพื่อให้วิธีการออกกำลังกายที่เลือกสอดคล้องกับความแข็งแรงของร่างกาย 

กิจกรรมการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเหมาะกับผู้สูงวัย ควรเลือกกิจกรรมที่มีแรงต้าน (resistance exercise) โดยเริ่มจากการออกแรงเบา ๆ แล้วค่อยเพิ่มมากขึ้น เช่น เพิ่มท่าหรือเพิ่มความถี่มากขึ้นได้ เมื่อร่างกายคุ้นชิน ท่าออกกำลังนั้นควรให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและยืดออก เช่น การยกมือต้านแรงจากมือ เกร็งกล้ามเนื้อ หรือลุกนั่งบนเก้าอี้ เป็นต้น  

การออกกำลังกายอีกลักษณะหนึ่งคือ กิจกรรมแบบแอโรบิก (aerobic exercise) เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด และควบคุมการเผาผลาญ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะทำให้เกิดกระบวนการขนส่งพลังงานไปยังกล้ามเนื้อ และมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อขยายขนาดเพิ่มขึ้นด้วย 

นอกจากนี้ ควรงดสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ในการเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย อีกทั้งช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในผู้สูงวัย

 

 

TH.2022.26777.ENS.1(v1.0)©2022Abbott

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง