พฤติกรรมที่ทำให้ท้องผูก

พฤติกรรมที่ทำให้
ท้องผูก

Masthed image
Masthed image
Masthed image

ท้องผูกเป็นอาการที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติของระบบขับถ่าย แต่การละเลยจนทำให้เกิดอาการท้องผูกติดต่อกันเป็นวลานานจนเรื้อรัง นอกจากจะเจ็บปวดขณะขับถ่ายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ตามมา โดยมีสถิติแสดงให้เห็นว่า คนไทยมีอาการท้องผูกสูงถึงร้อยละ 24 และพบได้มากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

ดังนั้น การเอาใจใส่ต่อความผิดปกติของระบบขับถ่าย จะมีส่วนช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากระบบขับถ่ายได้อย่างถูกวิธี

จะรู้ได้อย่างไรว่า..ท้องผูก

อาการท้องผูก (Constipation) เป็นอาการที่ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้อย่างปกติ อุจจาระจะมีลักษณะแห้งและแข็ง ทำให้ต้องใช้แรงและเวลามากขึ้นในการเบ่ง หรือปริมาณอุจจาระที่ออกมาน้อย รวมถึงการที่ไม่ได้ถ่ายอุจจาระทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเมื่อของเสียค้างอยู่ในลำไส้นานจนเกินไปจะทำให้เกิดการหมักหมมและส่งกลิ่นรุนแรงขณะที่อุจจาระออกมา

อาการท้องผูกเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะถ้าหากเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคริดสีดวงทวาร หรือในผู้ป่วยโรคหัวใจอาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการท้องผูก

อาการท้องผูกสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น  การทานอาหารที่มีกากใยน้อย ทำให้ขาดใยอาหารที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการขับถ่าย รวมถึงการเลือกรับประทานข้าวขัดสี หรือโปรตีนจากเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว กากใยในระบบขับถ่ายก็จะมีน้อยเกินไป ความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้ระบขับถ่ายเกิดความแปรปรวน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หลายคนอาจมองข้าม การกลั้นอุจจาระเป็นประจำหรือรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้การทำงานของระบบขับถ่ายผิดไปจากการตั้งโปรแกรมของร่างกาย ดังนั้น เมื่อมีการกลั้นอุจจาระซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ก็จะทำให้ลำไส้ทำงานผิดปกติได้ การไม่ออกกำลังกายทำให้ลำไส้ไม่ได้รับการกระตุ้นและย่อยอาหารได้ไม่ดี รวมถึงการรับประทานยาระบายเป็นประจำ อาจมีผลให้ลำไส้เกิดการดื้อยา และการบีบตัวเพื่อขับถ่ายอุจจาระน้อยลง

ปรับพฤติกรรม...ลดการท้องผูก

อาการท้องผูกสามารถรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มจากพฤติกรรมการทานอาหาร โดยเพิ่มอาหารที่มีกากใยในอาหารทุกมื้อในปริมาณอย่างน้อย 20-35 กรัมต่อวัน กากใยในผัก ผลไม้ และธัญพืชจะมีส่วนช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มและเพิ่มการเคลื่อนตัวของลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายง่าย และควรดื่มน้ำเปล่าไม่น้อยกว่า 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตรต่อวัน เพราะการขาดน้ำเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุจจาระแข็งและเกิดอาการท้องผูก

การออกกำลังกายอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้จะช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้น และควรฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน นอกจากนี้ การเลือกเสริมด้วยอาหารสูตรครบถ้วน ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อการขับถ่าย เพราะในอาหารสูตรครบถ้วนนอกจากจะประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพ 3 ชนิดแล้ว ยังมีฟรุกโต โอลิโกแซคคาไรด์ (FOS) ใยอาหารที่มีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

 

 

TH.2022.26782.ENS.1(v1.0)©2022Abbott

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง