การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อน
เข้ารับการผ่าตัด

Masthed image
Masthed image
Masthed image

แต่ละคนต้องการพลังงานจากอาหารในแต่ละวันไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ น้ำหนักตัว และกิจกรรมที่ทำ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้องการพลังงานประมาณวันละ 25-30 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และต้องการโปรตีนประมาณ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (เช่น ผู้ป่วยน้ำหนัก 50 กิโลกรัมจะต้องการพลังงานวันละ 1,250-1,500 กิโลแคลอรี และต้องการโปรตีน 50 กรัมต่อวัน) นอกจากนี้ยังควรได้รับคาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เหมาะสมด้วยเนื่องจากผู้ป่วยบางรายไม่สามารถรับประทานอาหารได้เต็มที่ หรือต้องการใช้พลังงานมากกว่าปกติ การรับประทานอาหารตามปกติอาจไม่เพียงพอ อาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน ได้รับการออกแบบให้มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ในสัดส่วนที่สมดุล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประทานทดแทนหรือเสริมกับมื้ออาหารปกติ เพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน

คุณรู้หรือไม่

ผลการผ่าตัดที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับ เทคนิคการผ่าตัดเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการดูแลผู้ป่วย ทั้งในช่วงก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และ หลังผ่าตัดอีกด้วย

ผู้ป่วยและผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ ต้องการพลังงานและสารอาหารเพิ่มเติม เพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงาน ที่เหมาะสมและเพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน

อาหารที่ควรรับประทานในระยะหลังผ่าตัด ควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์และ ย่อยง่ายเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น 

เหตุใดจึงควรดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ก่อน ระหว่าง และหลังการผ่าตัด

ผลการผ่าตัดที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคนิคการผ่าตัดเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการดูแลผู้ป่วยทั้งในช่วงก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด รวมทั้งภาวะโภชนาการของผู้ป่วยด้วย

หลังการผ่าตัดเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการพลังงานและสารอาหารที่มีประโยชน์เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การฟื้นตัวภายหลังการผ่าตัดที่เร็วจะลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด และช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ผู้ที่มีความเสี่ยงกับภาวะทุพโภชนาการ ได้แก่ ผู้ที่รับประทานอาหารได้น้อย ผู้ที่มีปัญหาการย่อยหรือการดูดซึมอาหาร ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 20 ผู้ที่มีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่าร้อยละ 10 ในเวลา 6 เดือน หรือมากกว่าร้อยละ 5 ในเวลา 1 เดือน

วิธีการปฎิบัติตัวและรับประทานอาหาร ก่อน ระหว่าง และหลังการผ่าตัด

ก่อนผ่าตัด
ผู้ป่วยควรงดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนการผ่าตัด
ควรออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้เป็นปกติ โดยอาจเพิ่มอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ เพื่อช่วยการฟื้นตัวหลังผ่าตัดและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย อาจพิจารณารับประทานอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วนเสริมหรือทดแทนมื้ออาหาร เพื่อทดแทนพลังงานจากสารอาหารที่ขาดหายไป

ระหว่างผ่าตัด
ในคืนก่อนผ่าตัดหรือเช้าวันผ่าตัด ผู้ป่วยอาจต้องงดน้ำและอาหารประมาณ 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันการสำลักในขณะดมยาสลบระหว่างผ่าตัด

หลังผ่าตัด
ในระยะแรกหลังผ่าตัด แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยสามารถเริ่มรับประทานอาหารได้เมื่อไร และเป็นอาหารชนิดใด กรณีผู้ป่วยยังไม่สามารถทานอาหารได้ แพทย์อาจให้สารน้ำหรือสารอาหารทางหลอดเลือดดำเสริม หากผู้ป่วยมีระบบทางเดินอาหารฟื้นตัวดี แพทย์จะอนุญาตให้ทานอาหารได้
โดยอาจเริ่มจากการจิบน้ำ หรือรับประทานอาหารเหลว หรืออาหารอ่อนก่อน บางรายอาจเริ่มทานอาหารปกติได้เลย

อาหารที่ควรรับประทานในระยะหลังผ่าตัด ควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่ายเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น กรณีที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ แต่ยังทานได้ไม่เต็มที่หรือต้องการพลังงานทดแทน อาหารสูตรครบถ้วนก็เป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง เนื่องจากรับประทานได้ง่าย รสชาติดี มีหลากหลายรสชาติ จึงสามารถเสริมอาหารมื้อหลักหรือทดแทนมื้ออาหาร ช่วยให้ได้รับสารอาหารและพลังงานเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง