รักษาโรคไต

“ฟอกเลือด” กับ “ล้างไต” นั้นต่างกันอย่างไร?

Banner
Banner
Banner

“ฟอกเลือด” กับ “ล้างไต” นั้นต่างกันอย่างไร?

เมื่อผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต หลายท่านก็อาจสงสัยว่าระหว่าง “การฟอกไตทางหลอดเลือดด้วยเครื่องไตเทียม” กับ “การฟอกไตทางช่องท้อง” นั้นต่างกันอย่างไร ซึ่งทั่วไปก็มักจะเรียกรวมๆ กันว่า “ฟอกเลือด” บ้าง “ล้างไตบ้าง” แต่ก็คือเป้าหมายเดียวกันในการขจัดของเสียที่คั่งอยู่ในเลือดและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งผลลัพท์จากทั้งสองวิธีนี้ใกล้เคียงกัน เมื่อทำแล้วต้องทำไปตลอดหรือจนกว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไต1 แล้วแต่ละวิธีนั้นเหมาะกับใคร มีข้อดี ข้อเสียต่างกันอย่างไร เรามีข้อมูลมาฝากกัน 

 

  • การฟอกไตทางหลอดเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เหมาะสำหรับผู้ป่วยไตวายทั่วไป ทั้งไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 

  • การฟอกไตทางช่องท้อง ใช้ได้กับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเช่นเดียวกัน แต่จะเหมาะกับเฉพาะบางกลุ่มผู้ป่วย 

 

  

การล้างไตทางช่องท้อง 

การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม 

เหมาะกับใคร1, 2 

  • ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันจากโรคหัวใจ 

  • ผู้ป่วยโรคไตวายที่มีโรคหัวใจรุนแรง 

  • ผู้ที่มีโรคหัวใจที่ไม่สามารถรองรับการดึงน้ำในปริมาณมากด้วยวิธีฟอกเลือดได้ในระยะเวลาสั้นๆ 

  • ผู้ป่วยเอชไอวีที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและเรื้อรัง 

  • ผู้ที่มีความประสงค์ล้างไตที่บ้าน หรือบ้านอยู่ไกลจากศูนย์ไตเทียมมาก 

  • มีปัญหาเส้นเลือด ไม่สามารถผ่าตัดเตรียมเส้นเลือดที่มีประสิทธิภาพได้ 

  • มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างหรือหลังจากการฟอกเลือดผ่านเครื่องไตเทียมบ่อยๆ 

  • ผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่มีผู้ช่วยในการล้างไตที่บ้าน 

  • บ้านอยู่ใกล้ศูนย์โรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียม 

  • เคยได้รับการผ่าตัดช่องท้องมาก่อน 

  • ปวดหลังเรื้อรัง 

ไม่เหมาะกับใคร2 

  • มีประวัติผ่าตัดที่หน้าท้องที่เสี่ยงเกิดพังผืดในช่องท้อง 

  • ติดเชื้อที่ผิวหนังหน้าท้องและรักษาไม่หาย 

  • มีรูรั่วระหว่างช่องท้องและช่องอก 

  • ลำไส้อักเสบเรื้อรัง 

  • BMI >35 

  • มีภาวะซึมเศร้า 

  • ไม่มีผู้ดูแลเปลี่ยนน้ำยา / ทำแผลให้ 

  • เป็นไส้เลื่อน 

  • มีภาวะโปรตีนในเลือดต่ำมาก 

  • ผู้ที่มีปัญหาระบบปอด ลำไส้ และมีถุงน้ำในไต 

  • ผู้ที่เส้นเลือดที่ต้องเตรียมสำหรับฟอกเลือดไม่พร้อม 

  • ผู้ที่มีอาการแพ้ไตเทียม 

ข้อดี2 

  • ขจัดของเสียออกจากร่างกายได้ทุกวัน เพราะต้องทำทุกวัน มีการปล่อยของเสียออกวันละ 4-6 ครั้ง ซึ่งดีต่อร่างกายในการขับของเสียให้คั่งค้างน้อยที่สุด 

  • สามารถทำเองที่บ้านได้ทุกวัน หรือหากใช้เครื่องล้างไตก็สามารถทำตอนกลางคืนได้ ส่วนกลางวันไปทำกิจวัตรต่างๆ ได้ปกติ 

  • สะดวกในการล้าง เพียงใส่น้ำยาล้างไตเข้าไว้ในช่องท้อง โดยไม่ต้องใช้เครื่องหรืออุปกรณ์เสริมในการล้าง แล้วแช่ทิ้งไว้ตามเวลาที่กำหนด เมื่อปล่อยน้ำยาออก ก็จะมีของเสียและน้ำส่วนเกินออกมา 

  • ไม่ต้องไปโรงพยาบาลบ่อยๆ 

  • ขจัดของเสียโมเลกุลขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้ดี 

  • ความเสี่ยงติดเชื้อต่ำ เพราะรับบริการในโรงพยาบาล และอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญ 

  • สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ปกติ เช่น อาบน้ำ ว่ายน้ำ เป็นต้นสำหรับผู้ที่มีโรคความดันโลหิตและหัวใจ จะช่วยทำให้การทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดมีความคงที่ขึ้น 

ข้อเสีย2 

  • อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเพราะต้องทำทุกวัน 

  • มีโอกาสติดเชื้อในช่องท้องได้ง่าย หากดูแลแต่ละขั้นตอนการล้างไม่ดี 

  • จำเป็นจะต้องได้รับการติดตามผลจากแพทย์ทุก 1-2 สัปดาห์  

  • ต้องมาโรงพยาบาล 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ 

  • ต้องจำกัดน้ำและอาหารมากกว่าการฟอกไตทางช่องท้อง 

  • เส้นเลือดที่ใช้ในการฟอกเลือดอาจมีลักษณะโป่งพองออกมาจนเห็นได้ชัด 

 

 

อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้เป็นความรู้เบื้องต้นเท่านั้น การเลือกใช้วิธีใดจึงต้องปรึกษากับทีมแพทย์และญาติๆ เพราะมีองค์ประกอบในการพิจารณาอีกหลายด้าน 

 

 

เอกสารอ้างอิง: 

  1. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต].การบำบัดทดแทนไตในปัจจุบัน;c2567[สืบค้น14 ธ.ค.2566].เข้าถึงได้ที่:การบำบัดทดแทนไตในปัจจุบัน. 

  2. HD Mall[อินเทอร์เน็ต]. ฟอกไต ขจัดของเสีย ช่วยยืดอายุผู้ป่วย;c2567[สืบค้น14 ธ.ค.2566].เข้าถึงได้ที่: https://hdmall.co.th/c/kidney-dialysis 

  

 

TH.2023.44567.NEP.1 (v1.0) ©2024Abbott 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง